วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่โชคร้ายที่สุดเลยยยย

สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสัปดาห์ที่โชคร้ายที่สุดเลยยยย

โทรศัพท์หายยยยย
โอ้ยเครียดดดดดดดดด



วันถัดมาก็ต้องสอบอีก
แนวข้อสอบก็อยู่ในโทรศัพท์

TT^TT
I I   I I
I I   I I

มีอะไรจะโชคร้ายกว่านี้มั้ย ?? 

ก่อนหน้านี้ได้ SMS ดูหนังฟรี ที่ Major 1 เรื่อง
กะว่าสอบเสร็จจะไปดู แต่โทรศัพท์ดันหายยยยย

ก็ต้อง อด ดูสินะ 

เอาหน่าาา เด๋วก็ได้กลับบ้านละ 
ขออย่าให้มีอะไรที่โชคร้ายกว่านี้อีกเลยยยย

<3<3<3 ^ ^ <3<3<3

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Final Exam ปี 2 เทอม 1

เข้าสู่ช่วงสอบ ปลายภาคแล้วววว  ^o^

วันนี้สอบวันแรกกก 
ผ่านไป 1 วิชา
ถือว่าทำได้ดี 55555

เหลืออีก 5 วิชาาา ~ 
กับ ส่งโปรเจค อีก 1 โปรเจค

สู้ ๆ ต่อไป *u*

อีก 15 วันก็ได้กลับบ้านนแล้วววว  เย้ๆๆๆๆๆๆ 

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Why financial Planning : Needs ( หัวข้อที่ 2 )

สรุปหัวข้อที่ 2 ทำไมต้องวางแผนทางการเงิน Why financial Planning ? : ความจำเป็น Needs

สิ่งที่ทุกคนมี คือ ความจำเป็น Needs และความฝัน Wants
ความจำเป็น Needs : ทุกคนต้องมีการใช้เงิน เพื่อซ้ือของใช้ - กินในชีวิตประจำวัน
ความฝัน ความต้องการ Wants : ความอยากรวย อยากมีเงินฯ

Needs เงินที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน : ได้มาจากไหน ? จะใช้พอไหม ? 
ต้องมีเท่าไหร่ ? 
ส่วนมากแล้ววัยทำงานเราจะมีโอกาสเก็บเงินได้มากที่สุด 
และเมื่อเราเกษียณอายุแล้วเราจะมีเงินพอใช้ ? 
แล้วเราต้องเก็บเงินเท่าไหร่ ? ถึงจะพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณ

โดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุจะใช้เงินประมาณ 50,000 บาท/ เดือน
ดังน้ัน 1 ปี ก็จะใช้เงินประมาณ 600,000 บาท
ต้องการมีเงินใช้อีกประมาณ 20 ปี หลังเกษียณ
ดังน้ัน จึงต้องมีเงินเก็บสำรองไว้ประมาณ 12 ล้านบาท ในชีวิตหลังเกษียณ


แต่ เงินที่เก็บสำรองไว้ประมาณ 12 ล้านบาท จะพอหรือ ? 
เมื่อมี Inflation ( เงินเฟ้อ ) ซึ่งจะทำให้ของแพงขึ้น
ถ้าเราสังเกตุราคาสินค้าจากอดีต จนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ราคาสินค้านั้นจะสูงขึ้นเรื่อยๆบางอย่างเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

ดังนั้น  จึงทำให้เงินที่เราเก็บจึงต้องเพิ่มขึ้น 
ถ้ากะไว้ว่าเพิ่มเป็น 2 เท่า เราก็ต้องมีเงินเก็บเพิ่มเป็น 24 ล้านบาท

แล้ว 24 ล้าน จะหามาจากไหน ? 

- หาจากการประหยัดเก็บเงิน ขยันทำงาน

ในวัยทำงานเรามีเวลาเก็บเงินตั้งแต่เริ่มทำงานอายุ ~ 22 - 60 ปี คิดเป็น ~ 38 ปี
ถ้าเราเก็บเงินทุกเดือนตั้งแต่เดือนแรกที่เริ่มทำงาน จนเกษียณอายุ
เก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท x 12 เดือน x 38 ปี =  4,560,000 บาท

4,560,000 บาท จากการทำงาน ก็ยังไม่พอสำหรับชีวิตวัยเกษียณ

- จากการพึ่งรัฐบาล

ในปัจจุบันรัฐบาล ต้องเจอกับปัญหา Agindg Population คือภาวะที่มีคนแก่มากกว่าคนหนุ่มสาว ซึ่งนั่นแปลว่า การที่รัฐบาลเก็บภาษีจากคนหนุ่มสาว เพื่อไปช่วยเหลือคนแก่ ก็ยิ่งทำได้ยากขึ้น
และอาจจะไม่พอ

          - ประกันสังคม เงินที่ได้รับสูงสุดจะประมาณ 7,000 - 8,000 บาท 
          - เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 700 800 1000 บาท ตามอายุซึ่งถือว่าน้อยมาก


นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าอายุมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น Life Expectancy 
ซึ่งจะทำให้เราใช้เงินหมดก่อนคาดอีกด้วย 

สรุป  ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเราจึงต้องมี ความรู้ทางการเงิน ( Financial Literacy ) เพื่อเป็นอีกช่องทางที่จะเพิ่มมูลค่าของเงินที่เรามีอยู่ให้มากขึ้น เช่น การลงทุน , ซื้อหุ้น เป็นต้น และสามารถจัดการกับเงินที่เรามี เพื่อให้พอกับความต้องการ


ขอขอบคุณ
http://www.a-academy.net/finance/personal-finance/2-why-needs/